กลับหน้าหลัก หน้ากิจกรรมลูกเสือ

ยุทธศาสตร์ลูกเสือชาวบ้าน (พ.ศ.2550 - 2554)
            
  
ยุทธศาสตร์ลูกเสือชาวบ้านเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้มี 5 ยุทธศาสตร์  ดังนี้
1.ยุทธศาสตร์การเทิดทูนและดำรงไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
     เพื่อให้ลูกเสือชาววบ้านทิดทูนและ ดำรงไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  ปลูกฝังลูกเสือชาวบ้าน ให้มีจิตสำนึกในความรักชาติ และความเป็นไทย  สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทยให้ลูกเสือชาวบ้านหวงแหน สืบทอดมรดกของบรรพบุรุษ เพื่อเป็นพลังในการพัฒนา และรักษาเอกราชอธิปไตยของชาติไทย และขยายผลสู่บุคคลอื่นๆ ต่อไป
    การเทดทูนและดำรงไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีดังนี้
    1.1.1 สร้างจิตสำนึกความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อย่างมั่นคงทุกโอกาส
    1.1.2 น้อมนำกระแสพระราชดำรัส มาเป็นแนวทางตามรอยพระยุคลบาท และตอบสนองงานตามพระราชดำริให้เต็มศักยภาพ โดยยึดหลักการเศรษฐกิจเพียง
    1.1.3 แสดงออกถึงความจงรักภักดี ด้วยการริเริ่มหรือร่วมในพิธีการ หรือกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ในโอกาสสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
    1.1.4 ร่วมกันดำรงไว้ซึ่งการพิทักษ์ สถาบันหลักของชาติ ในสถานการร์ที่เหมาะสม โดยสันติวิธี
    1.1.5 ร่วมกันอนุรักษ์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามของชาติและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
    1.1.6 สนับสนุนและร่วมกิจกรรมตามโครงการพระราชดำริฯ ในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
2. ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรักความสามัคคีและความสมานฉันท์ของคนในชาติ
       การ ส่งเสริมบทบาทของสถาบันหลักในการสร้างความสามัคคี และความสมานฉันท์ของคนในชาติ โดยเสริมสร้างความเข้มแข็ง ให้สถาบันของสังคม ทำให้เกิดระบบความสัมพันธ์ที่เป็นพลังในการพัฒนา และเพิ่มบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันการศึกษาในการพัฒนาการเรียนรู้ร่วมกันและการพัฒนาจิตใจของคน ตลอดจนเสริมสร้างกลุ่มพลังมวลชนต่าง ๆ ให้เกิดความพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนทรัพยากรของประเทศให้คงอยู่ตลอดไป ดังพระราชดำรัส สมเดีจพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสที่เสด็จไปในพิธีสวนสนามของราษฎรกลุ่มต่างๆ ประจำปี 2548 จังหวัดนราธิวาส เมื่อ 24 ตุลาคม 2548 "ในเมืองไทยนี้พลเมืองไทย ไม่ว่าจะมีเชื้อชาติใด นับถือศาสนาใด ต่างก็อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุขมาหลายร้อยปีแล้ว จนกลายเป็นลักษณะพิเศษของชาติไทย ทั้งนี้ ก็เพราะคนไทยมีนิสัยรักสงบ เคารพในสิทธิของผู้อื่น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และอดทน อดกลั้น ในขณะเดียวกันก็มียามรักชาติรักแผ่นดิน ตั้งใจมั่นที่จะดูแลรักษาผืนแผ่นดินไทยให้ดำรงอยู่ต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน ความตั้งใจมั่นนี้เองทำให้ประเทศไทย รักษาความเป็น " ไท " ได้ตลอดมา"
        ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความรักความสามัคคีและความสมานฉันท์ของคนในชาติ
    2.2.1 ร่วมกิจกรรมวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นโดยพร้อมเพรียงกัน
    2.2.2 เสริมสร้างความรักความสามัคคี โดยใช้กระบวนการลูกเสือชาวบ้านดำเนินการฝึกอบรมและประชุมสัมมนาลูกเสือชาวบ้านทุกระดับ
    2.2.3 จัดตั้งฌาปณกิจสงเคราะห์ หรือสมาคม มูลนิธิ ช่วยเหลือสมาชิกลูกเสือชาวบ้าน
    2.2.4 สร้างความรักความสามัคคีระหว่างมวลสมาชิก ด้วยการพัฒนาเครือข่ายและการประสานงานทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างมีประสิทธิภาพ
    2.2.5 ร่วมกันพัฒนาคนในชุมชนให้มีคุณภาพ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มทีเข้มแข็ง โดย ลส.ชบ. เป็นแกนนำในการส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่ บ้าน วัด โรงเรียน สนับสนุนการจัดองค์ความรู้ในชุมชนให้เป็นระบบ และรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีงาม ตลอดจนบูรณะโบราณสถานต่าง ๆ ในชุมชน
    2.2.6 ร่วมกิจกรรม เสริมสร้างสันติสุขใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
        เพื่อ ให้ลูกเสือชาวบ้าน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง อันเป็นรากฐานของประเทศเป็นโครงสร้างพื้นฐานของสังคมที่สำคัญ ในการสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศ
        การพัฒนาชุมชน     เป็น กระบวนการที่มุ่งส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น โดยความร่วมมืออย่างจริงจังของประชาชน และควรเป็นความคิดริเริ่มของประชาชนด้วยกัน โดยมีลูกเสือชาวบ้านเป็นแกนกลางเชื่อมประสาน และให้การสนับสนุน โดยมีภาคราชการใช้เทคนิคกระตุ้นเตือนให้เกิดความคิดริเริ่ม เพื่อให้ได้รับการตอบสนองจากประชาชนด้วยความกระตือรือร้นอย่างจริงจัง และสามารถนำกระบวนการพัฒนาชุมชนไปใช้ประโยชน์ ในการดำเนินงานการป้องกันแก้ไขปัญหาของชุมชนในโอกาสต่อไปได้
        ลักษณะ ที่สำคัญของชุมชนและสังคมเข้มแข็ง คือคนมีคุณภาพ มีคุณธรรม และมีการรวมกลุ่มทำให้เกิดพลังในการพัฒนาชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดจิตสำนึกรับผิดชอบต่อชุมชน มีจริยธรรม มีความรักความสามัคคี มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประชาชนด้วยกัน และกับเครือข่ายประชาชนที่ต่างชุมชนกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลและแบ่งปันผลประโยชน์ที่ร่วมกันสร้างขึ้น
        ชุมชน และสังคมจะเข้มแข็งก็ต่อเมื่อ มีการใช้งบประมาณ และการใช้ทรัพยากรเพื่อการแก้ปัญหาของชุมชน โดยมีกระบวนการจัดทำแผนชุมชนอย่างสมดุล การดูแลทรัพยากรธรรมชาติในชุมชน และการนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาให้เหมาะสมได้อย่างยั่งยืน
    
    การพัฒนาชุมชนและสังคมของลูกเสือชาวบ้าน มีดังนี้
    3.1.1 พัฒนา ชุมชนเข้มแข็ง โดยใช้กระบวนการลูกเสือชาวบ้านเป็นแกนกลางในการสร้างความรักความสามัคคีและ การรวมกลุ่มของประชาชน เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตของชุมชน โดยมีเป้าหมายเป็นพื่นที่ตำบลซึ่งเป็นองค์กรระท้องถิ่นทีสำคัญและเพื่อเป็น การประสานสอดคล้องกับองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
    3.1.1.1 การศึกษาสภาพพื้นที่เป้าหมาย และการสำมะโนลูกเสือชาวบ้านเพื่อหาข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลลูกเสือชาวบ้าน
    3.1.1.2 นำกระบวนการลูกเสือชาวบ้าน เข้าไปดำเนินเพื่อพัฒนาคุณภาพของคนตามความเหมาะสมโดยนำข้อมูลพื้นฐานมา พิจารณาดำเนินการด้วยวิธีฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้าน ฝึกทบทวนลูกเสือชาวบ้าน ฝึกผู้นำลูกเสือชาวบ้าน และการชุมนุมคืนสู่เหย้าลูกเสือชาวบ้าน
    3.1.1.3 การประชุมหรือจัดเวทีชาวบ้าน เพื่อให้รู้ปัญหาและรู้จักวิธีแก้ปัญหาในชุมชนโดยมีลูกเสือชาวบ้านเป็นแกนกลางในการแก้ไขปัญหา
    3.1.1.4 การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ในชุมชน
    3.1.1.5 การส่งเสริมพัฒนาอาชีพหลัก และอาชีพเสริม จัดตั้งกลุ่มอาชีพ โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน
    3.1.2 สนับสนุนการพัฒนาชุมชนและสังคม โดยให้ความร่วมมือกับภาคราชการ ภาคเอกชน หรือองค์กรมวลชนอื่น ๆ ในการพัฒนาด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุข  การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ
    3.1.3 ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายชุมชน โดยกระบวนการลูกเสือชาวบ้าน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การสร้างเครือข่ายชุมชนด้วยการติดต่อสื่อสารการประสานงาน การแลกเปลียนเรียนรู้เพื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับชุมชนของตน ทำให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ความเป็นชุมชนของตนมากขึ้น ก่อให้เกิดจิตสำนึกร่วมกันภายในชุมชน กลายเป็นพลังชุมชนในการจัดกิจกรรมหรือบริการร่งมกันเพื่อประโยชน์สุขของส่วน รวมมากขึ้น
     3.1.4 สนับสนุนให้ลูกเสือชาวบ้าน เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองไทย ตามรัฐธรรมนูญที่เป็นกรอบกติกาของการอยู่ร่วมกัน ให้มีความเชื่อมั่นต่อกลไกตามระบอบประชาธิปไตย การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง โดยดำรงความเป็นกลางและรักษาไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ยุติธรรม
    3.1.5 สนับสนุนให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
    3.1.6 เข้าร่วมในการช่วยเหลือชุมชนและสังคม ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติภัยหรือภัยธรรมชาติ
  4. ยุทธศาสตร์การฝึกอบรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต
        คน นับเป็นรากฐานสำคัญของสังคม เป็นสิ่งที่ต้องลงทุนในการพัฒนาก่อนสิ่งอื่นใด ให้คนมีความเข้มแข็งเป็น "พลังของแผ่นดิน" เป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ ดูแลรับผิดชอบการดำเนินชีวิตของตนเองได้เป็นอย่างดี มีคุณภาพ มีคุณธรรม ภายในกรอบกติกาของสังคมอย่างมีความสุข สังคมจะพัฒนาได้ต้องขึ้นอยู่กับการพัฒนาคนที่อยู่ในสังคมนั้น รากฐานการพัฒนาคนอยู่ที่เป็นคนมีความสุข คือสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผุ้อื่นในสังคมได้อย่างปกติสุข
        ยุทธศาสตร์ การฝึกอบรมและการพัฒนาคุณภาพชีวิตสมาชิกลูกเสือชาวบ้าน เพื่อสร้างประชาชน ให้เป็นลูกเสือชาวบ้าน ที่มีการพัฒนาทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจ และศีลธรรม ให้มีความรับผิดชอบรู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณะประโยชน์ นำเอาคำปฏิญาณ และกฏลูกเสือชาวบ้านมาใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างระเบียบวินัย และเป็นพลเมืองที่ดี พัษนาคุณภาพชีวิตของลูกเสือชาวบ้านอย่างต่อเนื่อง
    ยุทธศาสตร์การฝึกอบรมและพัฒนาคุณภาพชีวิต มีดังนี่
    4.1.1 ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือชาวบ้าน ให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งหลักสูตรวิทยากรเพื่อให้ได้ลูกเสือชาวบ้านที่มี คุณภาพ มีคุณธรรม และฝึกอบรมทบทวนเพิ่มเติมความรู้ที่ต่อเนื่องกัน และก้าวหน้าสูงขึ้น
    4.1.2 พัฒนาคุณภาพลูกเสือชาวบ้าน โดยการฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ ให้ลูกเสือชาวบ้านมีความชำนาญเฉพาะด้าน เพื่อสนับสนุนภารกิจของลูกเสือชาวบ้าน
    4.1.3 สร้างผู้นำองค์กรลูกเสือชาวบ้าน โดยการฝึกอบรม สัมมนา ทัศนศึกษา ตลอดจนการพัฒนาลักษณะผู้นำองค์กรลูกเสือชาวบ้าน ต้องให้การสนับสนุน และสร้างแรงจูงใจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ
    4.1.4 สร้างจิตสำนึกลูกเสือชาวบ้าน ให้ยึดมั่นปฏิบัติตน ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ อุดมการณ์ พระบรมราโชบาย หลักกการ วัตถุประสงค์ ภารกิจ คติธรรมประจำใจ หัวใจ สัจจธรรม คำปฏิญาณ และกฎของลูกเสือ เพื่อให้เป็นพลเมืองที่ดี
    4.1.5 พัฒนาสมาชิกลูกเสือชาวบ้าน ให้มีความสามารถพึ่งตนเองได้ สามารถจัดตั้งองค์กรระดับหมู่บ้านและตำบล เพื่อร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา พร้อมพัฒนาชุมชนและสังคมได้
    4.1.6 เชื่อมโยงกิจการลูกเสือชาวบ้าน กับลูกเสือโรงเรียนให้มีส่วนร่วมและสามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกันได้อย่างเป็น ระบบ ทั้งในด้านการฝีกและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
    4.1.7 พัฒนาคุณภาพลูกเสือชาวบ้านในอนาคต โดยการแสวงหา ชักนำกลุ่มประชากรที่มีคุณภาพเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรลูกเสือชาวบ้าน และปรับปรุงหลักสูตร สถานที่ฝึกอบรมให้เหมาะสม
    4.1.8 ส่งเสริมแนะนำให้ลูกเสือชาวบ้าน ได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของสิ่งที่จำเป็น แก่ความต้องการของชีวิต อย่างเหมาะสม ได้แก่ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม สุขภาพแข็งเรง และมีความมั่นคงในชีวิต
    4.1.9 สร้างค่านิยมลูกเสือชาวบ้าน ให้เหมาะสมกับสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละบุคคลใช้เป็นรากฐานการตัดสินใจอันสำคัญของชีวิต จะนำไปสู่จุดหมายปลายทางในชีวิตที่ดี
    4.1.10 พัฒนาคุณภาพชีวิตของลูกเสือชาวบ้าน โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ไปในทางสายกลาง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สำนึกในคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต อดทน มีความเพียร มีสติ มีปัญญา สร้างระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
    4.1.11 ส่งเสริมให้ลูกเสือชาวบ้าน ใช้หลักะรรมทางศาสนา เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ศาสนาต่างๆ ได้เพียรพยายามสอนให้คนเป็นคนดี คิดดี พูดดี ทำดี อยู่ในสถานที่ดี ประกอบอาชีพที่ดี สอนให้รักผู้อื่นช่วยเหลือซึ่งกันและกัน นำไปสู่การอยู่ดีมีความสุขร่วมกันในสังคม
    4.1.12 ส่งเสริมพัฒนาอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ลูกเสือชาวบ้านและครอบครัว ให้สอดคล้องกับทรัพยากร แรงงาน และความต้องการให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน
    4.1.13 ส่งเสริมการพัฒนาทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน
5 ยุทธศาสตร์พัฒนาการบริหารจัดการ
         เพื่อสร้างระบบบริหาร จัดการที่ดี ให้เกิดขึ้นในองค์กรลูกเสือชาวบ้าน การบริหารจัดการที่ดีจะมีความสำคัญที่สุด ในการที่จะแสวงหาความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ เอกชน ผู้ให้การสนับสนุนแก่กิจการลูกเสือชาวบ้าน
        องค์กรลูกเสือชาวบ้าน จะดำรงอยู่ได้ต้องได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านทรัพยากรคน และด้านการเงิน ซึ่งบุคคลส่วนใหญ่เข้ามาร่วมกิจกรรมลูกเสือชาวบ้านด้วยความเสียสละปราศจากผล ประโยชน์ส่วนตัวตอบแทน หากขาดซึ่งการบริหารจัดการทีดีแล้ว ประชาชนก็จะขาดความเชื่อถือศรัทธา เคลือบแคลงสงสัย เป็นการยากที่ผู้อื่นจะให้ความร่วมมืออย่างกว้างขวาง
        ดังนั้น ลูกเสือชาวบ้านยึดถือคุณลักษณะสำคัญของการบริหารจัดการที่ดีมี 6 ประการ ได้แก่
                1. หลักความรับผิดชอบ ต่อตนเอง หน้าที่การงานต่อชุมชนและสังคม
                2. หลักคุณธรรม ยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม มีคุณธรรม จริยธรรม
                3. หลักการมีส่วนร่วม ร่วมรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำกิจกรรม
                4. หลักความคุ้มค่า ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด
                5. หลักความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกลูกเสือชาวบ้านให้เข้าถึงได้ และมีส่วนร่วมตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินงาน
                6. หลักนิติธรรม กฏเกณฑ์ ระเบียบต่างๆ ต้องทันสมัย รับรู้ได้อย่างทั่วถึง มีที่มถูกต้องและเป็นที่ยอมรับได้ของสมาชิกลูกเสือชาวบ้าน ใช้บังคับกับสมาชิกทุกคนอย่างเสมอภาค ถือได้ว่า การบริหารจัดการที่ดีเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็๗ของแผน ยุทธศาสตร์ลูกเสือชาวบ้าน การบริหารจัดการที่ดีจะเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนให้ยุทธศาสตร์อื่นๆ ทั้งหมดให้ประสบความสำเร็จ
            การบริหารจัดการของลูกเสือชาวบ้าน มีดังนี้
    5.1.1 พัฒนาให้องค์กรลูกเสือชาวบ้าน เป็นองค์กรของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน อย่างแท้จริง โดยองค์กรลูกเสือชาวบ้านระดับจังหวัดนสามารถบริหารงานของตนเองได้อย่างมี ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการ
    5.1.2 เสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดี โดยเน้นความโปร่งใสตรวจสอบได้ ยึดหลักนิติธรรมสร้างความน่าเชื่อถือ การมีส่วนร่วม ความเป็นธรรม ความเสมอภาค ความรับผิดชอบ และความมีประสิทธิภาพ
    5.1.3 สร้างค่านิยมในการบริหารจัดการ ให้เอื้อต่อการกระจายความรับผิดชอบในการบริหารงานไปยังองค์กรระดับรองลงไป โดยเน้นให้องค์กรลูกเสือชาวบ้านในท้องถิ่น สามารถบริหารจัดการภายใต้กรอบนโยบายของศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน ในพระบรมราชานุเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิผล
    5.1.4 พัฒนาการบริหารจัดการ ศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน ในพระบรมราชานุเคราะห์ศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้านภาค , หมายเลข และศูนย์ประสานงานระดับกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน ตลอดจนชมรมลูกเสือชาวบ้านภาค , ชมรมลูกเสือชาวบ้านจังหวัด และอำเภอให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยนำเทคโนโลยีสารสรเทศมาใช้ในการจัดทำฐานข้อมูล
    5.1.5 นำองค์ความรู้ที่ทันสมัย และส่งเสริมให้มีการวิจัย มาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานลูกเสือชาวบ้านให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
    5.1.6 ส่งเสริมให้มีสถานที่ตั้ง และอาคารที่ทำการชมรมลูกเสือชาวบ้านที่เป็นเอกเทศ เพื่อการพบปะและทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิก
    5.1.7 เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของลูกเสือชาวบ้าน เพื่อให้ประชาชนเกิดความศรัทธาเล็งเห็นประโยชน์ของกิจการลูกเสือชาวบ้าน แลtให้ความร่วมมือโดยการประชาสัมพันธ์
    5.1.8 พัฒนาบุคลากรฝ่ายบริหารจัดการ ในองค์กรลูกเสือชาวบ้านทุกระดับ ให้มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และการนิเทศ
    5.1.9 พัฒนาผู้อำนวยการฝึก วิทยากรลูกเสือชาวบ้าน ให้มีความสามารถในการสนับสนุนกิจการลูกเสือชาวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    5.1.10 ให้มีการพัฒนาผู้นำองค์กรลูกเสือชาวบ้าน และส่งเสริมให้เกิดผู้นำองค์กรลูกเสือชาวบ้านรุ่นใหม่ เพื่อสืบทอดกิจการ และบริหารจัดการลูกเสือชาวบ้านอย่างเป็นระบบ
    5.1.11 สร้างให้เกิดแรงจูงใจแก่ลูกเสือชาวบ้าน ในการทำความดี และทำประโยชน์ต่อกิจการลูกเสือชาวบ้าน โดยเผยแพร่กิจกรรมระดับต่างๆ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
    5.1.12 สนับสนุนองค์กรลูกเสือชาวบ้านทุกระดับ ให้มีเงินกองทุนเพื่อบริหารจัดการได้อย่างยั่งยืน โดยองค์กรลูกเสือชาวบ้านอาจมีเงินรายได้ดังต่อไปนี้
                - เงินพระราชทาน
                - เงินอุดหนุนจากงบประมาณของทางราชการ
                - เงินจากมูลนิธิต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการลูกเสือชาวบ้าน
                - เงินและทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้องค์กรลูกเสือชาวบ้าน
                - เงินรายได้อื่นๆ ซึ่งไม่ผิดต่อพระบรมราโชบาย และวัตถุประสงค์ของลูกเสือชาวบ้าน
    5.1.13 ดำเนินการให้ลูกเสือชาวบ้านเป็นนิติบุคคล เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่ดี
    5.1.14 ให้จัดตั้งคณะนิเทศและคณะประเมินผลการปฏิบัติตามแผนกลยุทธศาสตร์ลูกเสือชาว บ้าน ฉบับที่ 5 สรุปเสนอศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน       ในพระบรมราชานุเคราะห์ ตามวงรอบที่กำหนดและแถลงแก่คณะกรรมการบริหารลูกเสือชาวบ้าน ในการประชุมประจำปี

 

กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๔๗
ต.ร่อนทอง อ.บางสะพาน จว.ประจวบคีรีขันธ์ ๗๗๒๓๐  
โทร 032-697373   /   bpp1470@Gmail.com